รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาในจังหวัดสกลนคร; Participatory Academic Affairs Management Model ofGeneral Education Division in PhraPariyattitham Schools in SakonNakhon Province

  • สมหมาย ชาปากดี
Keywords: รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม, โรงเรียนพระปริยัติธรรม, Participatory Academic Affairs Management Model, PhraPariyattitham School

Abstract

บทคัดย่อ

                   รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในจังหวัดสกลนคร ที่ได้ทำการศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในจังหวัดสกลนคร 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในจังหวัดสกลนคร 3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในจังหวัดสกลนคร

                   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ระยะที่ 1 ประกอบด้วย ผู้บริหารและครูที่ปฏิบัติหน้าที่การสอนประจำอยู่ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดสกลนคร ในปีการศึกษา 2557 จำนวน 7 โรงเรียนจำนวน  56   รูป / คน  ระยะที่ 2 ผู้ให้ข้อมูลในการจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) จำนวน 9 คน ระยะที่ 3 ผู้ให้ข้อมูลการประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้โดยผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ (Connoisseurship) จำนวน 20 คน

                   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม การสัมมนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ(Focus Group Discussion )และการประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้โดยผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ การหาคุณภาพของแบบสอบถามโดยการหาค่า IOC (Item Objective Congruence Index) เลือกเฉพาะข้อคำถามที่มีค่า IOC 0.50 ขึ้นไป และค่าความเชื่อมั่นโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (alpha-coefficient) ของครอนบาค (Cronbach)ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่า เบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis) จากการข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ โดยใช้วิธีการสรุปเป็นความเรียง

                 ผลการวิจัย พบว่า

  1. สภาพการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในจังหวัดสกลนคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ ด้านสื่อการเรียนการสอนรองลงไป คือ ด้านหลักสูตรและการบริหารหลักสูตร และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการนิเทศภายใน
  2. รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในจังหวัดสกลนคร ประกอบด้วย หลักการมีส่วนร่วม 5 ด้าน และ การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ใน 5 ด้าน
  3. ผลการประเมินความเป็นไปได้ และความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในจังหวัดสกลนครพบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

Participatory Academic Affairs Management Model ofGeneral Education Division inPhraPariyattitham Schools in SakonNakhon Province

PhraSommaiChapakdee

            The research entitled, “Participatory Academic Affairs Management Model ofGeneral Education Division inPhraPariyattitham Schools in SakonNakhon”, aimed 1) to study the state of the participatory academic affairs management ofGeneral Education Division inPhraPariyattitham Schools in SakonNakhon Province, 2) to create the participatory academic affairs model ofGeneral Education Division inPhraPariyattitham schools in SakonNakhon Province, and 3) to evaluate the participatory academic affairs model ofGeneral Education Division inPhraPariyattitham schools in SakonNakhon Province.

            The samples used in the first period of this research were 56 administrators and teachers who were teaching in 7PhraPariyattithamschools of SakonNakhon Province in the academic year of 2014. While in the second period of this research, the 9 informants were invited to participate in a focus group discussion. And in last period, the 20 experts were invited to be as the informants for evaluation.

            The instruments used in this research were the questionnaire, focus group discussion, and the evaluation by the experts. In the quality test, the only items of questionnaire with above .50 value of the IOC were acceptable, and in the reliability test, Cronbach’s alpha value was rated at .98. The statistics used for quantitative data analysis in this research were percentage, mean, and standard deviation. In addition, the content analysis was employed for the qualitative data which were concluded from the experts’ suggestions.

            The research findings revealed that

  1. The state of the participatory academic affairs management of PhraPariyattitham Schools in SakonNakhon Province were at high level. Especially, the instructional media aspect was at the highest level; the curriculum and curriculum management aspect was at the lower, and the lowest level was the internal supervision aspect.
  2. The participatory academic affairs model of PhraPariyattitham schools in SakonNakhon Province consisted of 2 variables that were relevant to each other, i.e. the 5 aspect-participatory principles and the 5 aspect-participatory academic affairs of ofPhraPariyattitham schools.
  3. The results of evaluation for the appropriate and possible participatory academic affairs model of PhraPariyattitham schools in SakonNakhon Province overall were at the highest level.
Published
2017-11-24